ผลเสียของการนอนกรน กระทบชีวิตมากกว่าที่คุณคิด!
อย่างที่เราทราบกันไปแล้วว่า ‘การนอนกรน’ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อต่างๆ ในช่องปากคลายตัวและหย่อนคล้อยลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้สะดวกจนเกิดเป็นเสียงกรนขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักๆ เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น ความอ้วน หรือกรรมพันธุ์ ฯลฯ “โดยผู้ชายมีโอกาสนอนกรนมากกว่าผู้หญิง 6-10 เท่า และผู้หญิงจะมีอาการนอนกรนเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน” เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าผลเสียของการนอนกรนมีอะไรกันบ้าง
ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ผลเสียระยะสั้นของการนอนกรน การนอนกรนส่งผลให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ เนื่องจากขาดอากาศหายใจ และการที่ทางเดินหายใจส่วนต้นปิด ร่างกายจะพยายามหายใจให้แรงขึ้น เพื่อเปิดทางเดินหายใจ ซึ่งจะกระตุ้นสมองให้ตื่นบ่อยๆ ขณะที่เราหลับทำให้มีอาการต่างๆ ในระยะสั้น ดังนี้
• นอนไม่หลับ หรือหลับได้ไม่ลึก
• รู้สึกไม่สดชื่น
• คอแห้งหลังตื่นนอน
• วิงเวียนและปวดศีรษะบ่อย
• ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือเผลอหลับขณะทำงาน
• ง่วงมากผิดปกติช่วงกลางวัน
• สมาธิสั้น ความจำไม่ดี
• หงุดหงิด อารม์เสียง่าย
• สุขภาพจิตเสีย
• เกิดอุบัติเหตุ เพราะความง่วงและหลับใน
• ประสิทธิภาพการเผาผลาญอาหารของร่างกายด้อยลดลง
• อ่อนเเพลีย หรือเหนื่อยล้าง่ายเหมือนพักผ่อนไม่เพียงพอ
• ฮอร์โมนเพศชายลดลง ส่งผลให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
• มีปัญหาครอบครัว ชีวิตคู่ไม่ราบรื่น หรือเกิดการหย่าร้าง
ผลเสียระยะยาวของการนอนกรน
มีอันตรายถึงชีวิต ได้แก่
• เกิดโรคความดันโลหิตสูง
• เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
• เกิดโรคหัวใจ
• เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
• เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
• เกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต
• เกิดโรคซึมเศร้า
• เกิดโรคเบาหวาน
• เกิดโรคอ้วน
• เกิดโรคอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อม
ผู้ที่มีอาการนอนกรน มีโอกาสอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ หากทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานจะมีอันตรายต่อชีวิตสูง การนอนกรนจึงไม่ใช่ความเคยชินที่ควรมองข้าม ปัจจุบันทางการแพทย์มีนวัตกรรม ’Snoreless’ ซึ่งเป็นเครื่องมือใหม่ในการรักษาการนอนกรน โดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น และเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกแก้ปัญหาการนอนกรน
อ่านข้อมมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ‘Snoreless’
คลิกที่ภาพ